การจัดตั้งบริษัทในไทยโดยมีผู้ถือหุ้นต่างชาติ
Table of Content : สารบัญ
- การจัดตั้งบริษัทในประเทศไทย โดยมีผู้ถือหุ้นต่างชาติ
- ความหมายของ “ต่างด้าว” ตามพระราชบัญญัติ
- คนต่างด้าวต่อไปนี้ห้ามประกอบธุรกิจในราชอาณาจักร
- รูปแบบการจัดตั้งบริษัทสำหรับผู้ถือหุ้นชาวต่างชาติ
- ที่ตั้งบริษัทฯ
- เอกสารที่ต้องจัดเตรียม
- ขั้นตอนการจัดตั้งบริษัท
- หน้าที่ของบริษัท ทางบัญชีและภาษี
- อยากจัดตั้งบริษัทฯ แต่มีความกังวลเรื่องเงินทุน สถานที่จัดตั้งบริษัท
การจัดตั้งบริษัทในประเทศไทย โดยมีผู้ถือหุ้นต่างชาติ
การจัดตั้งบริษัทในประเทศไทยโดยมีผู้ถือหุ้นต่างชาติเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจอย่างมากจากนักลงทุนต่างชาติที่ต้องการขยายธุรกิจมายังประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม การดำเนินการดังกล่าวต้องปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดของทางการไทยอย่างเคร่งครัด บทความนี้จะอธิบายขั้นตอนสำคัญและข้อควรพิจารณาในการจัดตั้งบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นต่างชาติในประเทศไทย
ความหมายของ “ต่างด้าว” ตามพระราชบัญญัติ
ตามพระราชบัญญัติ บุคคลหรือนิติบุคคลที่ถือว่าเป็นต่างด้าว ได้แก่:
- บุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทย
- นิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยแต่มีผู้ถือหุ้นต่างชาติถือหุ้นเกิน 50%
- นิติบุคคลที่จดทะเบียนในต่างประเทศ
- นิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยแต่มีนิติบุคคลต่างด้าวถือหุ้นเกิน 50%
คนต่างด้าวต่อไปนี้ห้ามประกอบธุรกิจในราชอาณาจักร
(1) คนต่างด้าวที่ถูกเนรเทศหรือรอการเนรเทศตามกฎหมาย
(2) คนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองหรือกฎหมายอื่น
รูปแบบการจัดตั้งบริษัทสำหรับผู้ถือหุ้นชาวต่างชาติ มี 2 ประเภท ได้แก่:
1. นิติบุคคลสัญชาติไทย
จะมีผู้ถือหุ้นต่างชาติ ไม่เกิน 49 % ของทุนจดทะเบียนบริษัทฯและเป็นคนไทยไม่ต่ำกว่า 51 % ของทุนจดทะเบียน
2. นิติบุคคลสัญชาติต่างด้าว ที่มีผู้ถือหุ้นเป็นต่างชาติ ตั้งแต่ 50 % ขึ้นไป หรือ ที่มีผู้ถือหุ้นเป็นต่างชาติ 100 %
ซึ่งจะมีเงื่อนไขในเรื่องห้ามถือครองที่ดิน มีข้อจำกัดเรื่องของธุรกิจที่ต่างชาติห้ามทำ และต้องขออนุญาตซึ่งมีความยุ่งยากกว่านิติบุคคลสัณชาติไทยในเรื่องของการประกอบธุรกิจ
อ่านเพิ่มเติม: ธุรกิจที่ต้องห้ามสำหรับชาวต่างชาติลงทุน
ด้วย 3 วิธีนี้:
- หากต้องการถือหุ้นมากกว่า 49% จำเป็นต้องขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (Foreign Business License – FBL)
- หากเป็น ธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) สามารถยื่นขอหนังสือรับรองประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติได้ อาจได้รับอนุญาตให้ถือหุ้นต่างชาติได้ 100%
- กฎหมายมาตรา 11 ข้อตกลงที่ไทยได้เป็นภาคี หรือพันธกรณี หรือนักธุรกิจต่างชาติที่อยู่ภายใต้สนธิสัญญาสามารถยื่นขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจชาวต่างชาติได้
ที่ตั้งบริษัทฯ
ผู้ประกอบการคนไทยหรือชาวต่างชาติท่านไหน ที่ต้องการจัดตั้งบริษัทใหม่ เรายินดีให้บริการเรื่องของสถานที่ตั้งบริษัทฯ ท่านไม่ต้องกังวล
เอกสารที่ต้องจัดเตรียม
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาพาสปอร์ต(ชาวต่างชาติ)
- เพียงท่านเตรียมชื่อของบริษัทฯ ที่ท่านต้องการ ส่วนอื่นเราจัดเตรียม และประสานงานให้ท่านเป็นลำดับถัดไป
ขั้นตอนการจัดตั้งบริษัท
1. การจดทะเบียนชื่อบริษัท
ต้องยื่นคำขอจองชื่อบริษัทกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยชื่อที่เลือกต้องไม่ซ้ำกับบริษัทที่มีอยู่แล้ว และต้องไม่มีคำต้องห้ามตามกฎหมายไทย
2. การจัดทำเอกสารและสัญญาจัดตั้งบริษัท
ต้องมีการจัดทำเอกสารที่สำคัญ เช่น:
- หนังสือบริคณห์สนธิ (Memorandum of Association) ซึ่งระบุชื่อบริษัท ที่ตั้งวัตถุประสงค์ และทุนจดทะเบียน
- รายชื่อผู้ถือหุ้นและจำนวนหุ้นที่ถือครอง
- ข้อบังคับบริษัท (Articles of Association) ซึ่งกำหนดโครงสร้างการบริหารบริษัท
- รายชื่อกรรมการบริษัทและอำนาจหน้าที่
- ที่ตั้งของบริษัทในประเทศไทย
3. การจดทะเบียนบริษัท
เมื่อเตรียมเอกสารเรียบร้อยแล้ว บริษัทสามารถยื่นจดทะเบียนบริษัทได้ โดยจะต้องระบุทุนจดทะเบียนและโครงสร้างบริษัท โดยปกติทุนจดทะเบียนต้องมีความสมเหตุสมผลกับขนาดและลักษณะของธุรกิจ
4. การขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีและจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
- บริษัทต้องขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีกับกรมสรรพากรภายใน 60 วันหลังจากจดทะเบียน
- หากรายได้ของบริษัทเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) กับกรมสรรพากรภายใน 30 วัน นับจากวันที่รายได้เกินเกณฑ์ที่กำหนด
5. การขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (ถ้าจำเป็น)
หากชาวต่างชาติถือหุ้นเกิน 49% หรือดำเนินธุรกิจที่อยู่ในบัญชีแนบท้ายของพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว อาจต้องขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (FBL)
หน้าที่ของบริษัท ทางบัญชีและภาษี
- บัญชีและการตรวจสอบบัญชี: บริษัทต้องจัดทำงบการเงินประจำปีและยื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมสรรพากร
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล: อัตราภาษีมาตรฐานอยู่ที่ 20% ของกำไรสุทธิ
- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย: ขึ้นอยู่กับประเภทของรายได้ เช่น ค่าบริการหรือค่าเช่า
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT): อัตรามาตรฐานคือ 7% สำหรับสินค้าและบริการที่ไม่เข้าข้อยกเว้น
อยากจัดตั้งบริษัทฯ แต่มีความกังวลเรื่องเงินทุน หรือสถานที่จัดตั้งบริษัท ไม่ทราบว่ารายระเอียดเป็นอย่างไรทักมาคุยกันกับเราได้
หากคุณไม่มั่นใจในการคำนวณภาษีหรือจัดการบัญชีอย่างถูกต้อง
สำนักงานบัญชีกรุงเทพ (2009) ยินดีที่จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกหนึ่ง ให้คุณได้ผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำปรึกษาและดูแลบัญชี-ภาษีของคุณ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการทำผิดกฎหมาย และช่วยให้คุณวางแผนการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากสนใจ ติดต่อเราได้ครับ