การทำธุรกิจออนไลน์หรือ E-Commerce ในปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างมาก ทั้งผู้ประกอบการรายเล็กและรายใหญ่ต่างก็หันมาสนใจการขายสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์ เนื่องจากเป็นช่องทางที่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ทั่วโลก
อย่างไรก็ตาม การทำธุรกิจออนไลน์ก็มีข้อกำหนดด้านบัญชีและภาษีที่นักขายออนไลน์จำเป็นต้องทราบ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่นและถูกต้องตามกฎหมาย
บัญชีภาษีสำหรับธุรกิจขายออนไลน์ E-Commerce (นิติบุคคล) เช่น บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด มาดูกันครับ
Table of Content : สารบัญ
4. ประเด็นภาษีเงินได้นิติบุคคล
เราได้รวบรวมประเด็นบัญชีและภาษีหลักๆที่สำคัญ สำหรับนักขายออนไลน์ในนาม บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด มาตามด้านล่างนี้:
1. ประเด็นบัญชี
- การจัดทำบัญชีในนามนิติบุคคล (บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด) จะต้องเป็นไปตามมาตรฐานบัญชี
- ต้องจัดทำบัญชีต้องปิดบัญชีครั้งแรกภายในสิบสองเดือนนับแต่วันเริ่มทำบัญชี และปิดบัญชีทุกรอบสิบสองเดือนนับแต่วันปิดบัญชีครั้งก่อน
อ่านเพิ่มเติม: บุคคลธรรมดา-สรุปประเด็นบัญชีและภาษีสำหรับนักขายออนไลน์ E-Commerce
2. ประเด็นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากการขายสินค้าและบริการ โดยอัตราภาษีในประเทศไทยคือ 7% ซึ่งธุรกิจที่มีรายได้จากการขายสินค้าออนไลน์มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) กับกรมสรรพากร และต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดดังนี้:
- การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT): หากรายได้ของธุรกิจ E-Commerce เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี คุณจะต้องลงทะเบียนกับกรมสรรพากรเพื่อให้ธุรกิจของคุณสามารถออกใบกำกับภาษีและเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากลูกค้าได้
- การออกใบกำกับภาษี (Tax Invoice): เมื่อมีการขายสินค้าออนไลน์ คุณต้องออกใบกำกับภาษีให้กับลูกค้า ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าสามารถหักภาษีที่จ่ายไปในกรณีที่จดทะเบียน VAT ได้
- การยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม: ธุรกิจต้องยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่มทุกเดือน (ภาษีมูลค่าเพิ่มต้องยื่นภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป) โดยจะต้องจัดทำรายงานยอดขายและยอดซื้อที่มีการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม
- การชำระภาษี: เมื่อยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว คุณต้องชำระภาษีที่ค้างจ่ายในเดือนนั้นๆ ตามจำนวนที่คำนวณจากยอดขายสินค้า
ข้อควรระวัง: หากธุรกิจไม่สามารถเก็บภาษีจากลูกค้าได้ หรือไม่ได้ออกใบกำกับภาษีที่ถูกต้อง จะมีความเสี่ยงที่ต้องชำระภาษีย้อนหลังพร้อมค่าปรับ
3. ประเด็นภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (Withholding Tax) คือภาษีที่ต้องหักจากการจ่ายค่าบริการต่าง ๆ โดยอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายจะขึ้นอยู่กับประเภทของการจ่ายเงิน เช่น ค่าบริการทางการตลาด ค่าคอมมิชชัน ค่าที่ปรึกษา และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจ E-Commerce
ซึ่งการหักภาษี ณ ที่จ่ายจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของกรมสรรพากร โดยผู้ประกอบการที่จ่ายค่าบริการต้องหักภาษีจากจำนวนเงินที่จ่ายและส่งภาษีให้กรมสรรพากรภายในระยะเวลาที่กำหนด
- การหักภาษี ณ ที่จ่าย จากบุคคลภายนอก: ตัวอย่างเช่น หากธุรกิจจ่ายค่าบริการแก่บริษัทหรือบุคคลอื่นที่มีการให้บริการเกี่ยวกับการทำการตลาดออนไลน์หรือค่าส่งสินค้า ธุรกิจต้องหักภาษีตามอัตราที่กรมสรรพากรกำหนด (อาจเป็น 3%, 5%, 10% เป็นต้น ขึ้นอยู่กับประเภทของบริการ)
- การหักภาษี ณ ที่จ่าย จากพนักงาน ลูกจ้าง: ธุรกิจต้องยื่นแบบภาษีหัก ณ ที่จ่าย ทุกเดือน หรือเมื่อมีการหักภาษีจากการจ่ายให้แก่ พนักงาน ลูกจ้างมีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) (2) แห่งประมวลรัษฎากร ตามประเภทต่อไปนี้:
- 1.1 เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) ได้แก่ เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใดๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน
- 1.2 เงินได้พึงประเมินตามมาตรา40 (2) ได้แก่ เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด เงินอุดหนุน ในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่ผู้จ่ายเงินได้จ่ายชำระหนี้ใดๆ ซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชำระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจาก หน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้นั้น ไม่ว่าหน้าที่หรือตำแหน่งงานหรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว
อ่านเพิ่มเติม: ภาษีหัก ณ ที่จ่ายในไทย-สิ่งที่เจ้าของธุรกิจควรรู้
4. ประเด็นภาษีเงินได้นิติบุคคล (บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด)
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากกำไรของธุรกิจ โดยอัตราภาษีเงินได้สำหรับนิติบุคคลทั่วไปในประเทศไทยอยู่ที่ 20% ของกำไรสุทธิ หากไม่เข้าเงื่อนไขพิเศษของ SME
- การคำนวณกำไร: นิติบุคคล E-Commerce จะต้องคำนวณจากรายได้ที่ได้รับจากการขายสินค้าและบริการ โดยสามารถหักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าการตลาดออนไลน์ ค่าบริการขนส่ง ค่าจัดการเว็บไซต์ ค่าจ้างพนักงาน ค่าบริการที่ปรึกษา เป็นต้น
- เสียภาษีจากกำไรสุทธิ: นิติบุคคล E-Commerce จะเสียภาษีจากกำไรสุทธิ ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร และไม่ว่ากิจการมีกำไรหรือขาดทุนสุทธิก็ตาม และมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการ ตามดังนี้
1. แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี (ภ.ง.ด.51) ภายใน 2 เดือนนับจากวันสุดท้ายของทุก 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี – ตัวอย่างรอบระยะเวลาบัญชี เช่น 1 มกราคม 25X1 – 30 มิถุนายน 25X1
2. แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ (ภ.ง.ด.50) ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี – ตัวอย่างรอบระยะเวลาบัญชี เช่น 1 มกราคม 25X1 – 31 ธันวาคม 25X1
อ่านเพิ่มเติม: ภาษีมูลค่าเพิ่มในไทย: สิ่งที่เจ้าของธุรกิจควรรู้
5. อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
1. กิจการ SMEs มีทุนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท รายได้จากการขายหรือให้บริการไม่เกิน 30 ล้านบาท ไม่ได้จดแจ้งการจัดทำบัญชีและงบการเงินให้สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ
2. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กรณีทั่วไป ที่ไม่ใช่กิจการ SMEs
6. สรุป
การดำเนินธุรกิจ E-Commerce มีประเด็นด้านบัญชีและภาษีที่ต้องให้ความสำคัญ นักขายออนไลน์ควรมีการจัดทำบัญชีที่ถูกต้อง จัดทำงบการเงินและรายงานภาษีอย่างครบถ้วนและทันเวลา เพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างราบรื่นและปฏิบัติตามกฎหมาย
หากคุณไม่มั่นใจในการคำนวณภาษีหรือจัดการบัญชีอย่างถูกต้อง
สำนักงานบัญชีกรุงเทพ (2009) ยินดีที่จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกหนึ่ง ให้คุณได้ผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำปรึกษาและดูแลบัญชี-ภาษีของคุณ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการทำผิดกฎหมาย และช่วยให้คุณวางแผนการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากสนใจ ติดต่อเราได้ครับ