การขายสินค้าหรือบริการออนไลน์ E-Commerce ได้กลายเป็นอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ด้วยความสะดวกสบายและความเร็วในการทำธุรกิจ ซึ่งพร้อมกับโอกาสที่มากขึ้นนี้ นักขายออนไลน์ก็ต้องรับมือกับความซับซ้อนในการบริหารการเงินและการปฏิบัติตามกฎหมายภาษีอีกด้วย
บัญชีภาษีสำหรับนักขายออนไลน์ E-Commerce (บุคคลธรรมดา) มาดูกันครับ
Table of Content : สารบัญ
1. ประเด็นบัญชี ของการค้าขายแบบบุคคลธรรมดา
3. ประเด็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
4. การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เพื่อป้องกันปัญหาทางบัญชีและกฎหมายภาษีและการเงินในอนาคต เราได้รวมประเด็นบัญชีและภาษีหลักๆที่สำคัญ สำหรับนักขายออนไลน์ในนามบุคคลธรรมดา(ได้แก่ บุคคลธรรมดา คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล) มาดังนี้:
อ่านเพิ่มเติม: นิติบุคคล-สรุปประเด็นบัญชีและภาษีสำหรับนักขายออนไลน์ E-Commerce
1. ประเด็นบัญชี ของการค้าขายแบบบุคคลธรรมดา
- บันทึกทุกธุรกรรมการขาย: ควรบันทึกทุกรายการขายอย่างละเอียด เช่น วันที่ขาย, ชื่อและรายละเอียดของลูกค้า, รายการสินค้าที่ขาย, ราคาขาย, วิธีการชำระเงิน (เช่น โอนเงิน, ชำระเงินสด, บัตรเครดิต ฯลฯ)
- เก็บใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน: ควรเก็บเอกสารทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับการขายสินค้า เช่น ใบกำกับภาษี, ใบเสร็จรับเงิน, หรือเอกสารการส่งสินค้าซึ่งจำเป็นสำหรับการยื่นภาษี
- บันทึกค่าใช้จ่ายต่างๆ: ควรบันทึกค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการค้าขาย เช่น ค่าซื้อสินค้า, ค่าจัดส่ง, ค่าการตลาด, ค่าธรรมเนียมการขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ (เช่น Lazada, Shopee), ค่าที่ปรึกษา, และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- การบันทึกสินค้าคงคลัง: การจัดการสินค้าคงคลังเป็นส่วนสำคัญในการคำนวณต้นทุนและการควบคุมการขาย โดยบันทึกสินค้าที่ได้รับเข้าสต็อกและสินค้าที่ขายออกไป เพื่อให้สามารถคำนวณต้นทุนและกำไรได้อย่างแม่นยำ ส่วนวิธีการบันทึก สามารถเลือกใช้วิธีการบันทึกสินค้าคงคลังที่เหมาะสมกับธุรกิจ เช่น วิธี FIFO (First In First Out) หรือ วิธีต้นทุนเฉลี่ย ในการคำนวณต้นทุนสินค้าคงคลัง
- การตรวจสอบและรายงานการเงิน: เจ้าของกิจการควรจัดทำรายงานกำไรขาดทุน ประจำเดือนหรือประจำปีเพื่อดูสถานะทางการเงินของธุรกิจ และเพื่อใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับการขยายธุรกิจหรือการปรับกลยุทธ์ และควรตรวจสอบบัญชีอย่างสม่ำเสมอ เช่น การเปรียบเทียบรายได้กับค่าใช้จ่ายหรือการตรวจสอบภาษีที่ต้องชำระ เพื่อให้มั่นใจว่าการจัดการทางบัญชีถูกต้อง
- การจัดการค่าใช้จ่ายและการกำหนดราคา: ผู้ประกอบการควรคำนวณต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการขายสินค้า เช่น ราคาซื้อสินค้าทุน, ค่าจัดส่ง, ค่าบรรจุภัณฑ์, ค่าธรรมเนียมการขาย, และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และกำหนดราคาขายให้เหมาะสม โดยพิจารณาจากต้นทุนการผลิต, ค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ, และการแข่งขันในตลาด
- การวางแผนทางการเงิน โดยเน้นการจัดการเงินสด เพราะการมีเงินสดสำรองจะช่วยเรื่องการใช้จ่ายในกรณีฉุกเฉินหรือช่วงที่ธุรกิจมีรายได้น้อย ควรเตรียมแผนการเงินเพื่อรองรับสถานการณ์ต่างๆ และเจ้สของกิจการควรคำนึงถึงเรื่องการลงทุนในสินค้าคงคลังหรือเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ ควรวางแผนการลงทุนให้รอบคอบเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อการเงินของธุรกิจ
2. ประเด็นภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ ผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพในประเทศไทย หรือผู้นำเข้าสินค้า
- โดยผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่มีรายรับเกินกว่า 1,800,000 บาทต่อปี
- จะต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- จัดทำรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ และ
- ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ไม่ว่าผู้ประกอบการจะมีรายรับหรือไม่ก็ตาม
3. ประเด็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- ใครมีหน้าที่ยื่น? ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา ได้แก่ บุคคลธรรมดา คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล
- ยื่นแบบอะไร? ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.94 ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึงเดือนกันยายนของปี และยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 ภายในเดือนมกราคม ถึงเดือนมีนาคมของปีถัดไป โดยต้องนำเงินได้จาก e-Commerce ไปรวมคำนวณกับเงินได้จากแหล่งอื่นถ้ามี เช่น เงินเดือน ดอกเบี้ย
อ่านเพิ่มเติม: ภาษีหัก ณ ที่จ่ายในไทย-สิ่งที่เจ้าของธุรกิจควรรู้
4. การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
คำนวณภาษีวิธีที่ 1 ด้วยอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- เงินได้พึงประเมินจากการขายสินค้าหรือจาการให้บริการ – ค่าใช้จ่ายแบบเหมาหรือตามความเป็นจริงและสมควร – ค่าลดหย่อนตามกฎหมาย = เงินได้สุทธิ * อัตราภาษีตามตารางด้านล่างนี้ = ภาษีที่ต้องชำระ (ต้องนำไปเทียบกับวิธีที่ 2)
5. สรุป
การดำเนินธุรกิจ E-Commerce มีประเด็นด้านบัญชีและภาษีที่ต้องให้ความสำคัญ นักขายออนไลน์ควรมีการจัดทำบัญชีที่ถูกต้อง จัดทำงบการเงินและรายงานภาษีอย่างครบถ้วนและทันเวลา เพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างราบรื่นและปฏิบัติตามกฎหมาย
หากคุณไม่มั่นใจในการคำนวณภาษีหรือจัดการบัญชีอย่างถูกต้อง – สำนักงานบัญชีกรุงเทพ (2009) ยินดีที่จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกหนึ่ง ให้คุณได้ผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำปรึกษาและดูแลบัญชี-ภาษีของคุณ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการทำผิดกฎหมาย และช่วยให้คุณวางแผนการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากสนใจ ติดต่อเราได้ครับ