เจ้าของธุรกิจตกแต่งภายในต้องรู้! จัดการบัญชีภาษี

เจ้าของธุรกิจตกแต่งภายในต้องรู้!-จัดการบัญชีภาษี
เจ้าของธุรกิจตกแต่งภายในต้องรู้! จัดการบัญชีภาษี มาดูกันครับ

1. เริ่มต้นด้วยการจัดระเบียบบัญชี

  • แยกบัญชีธุรกิจกับบัญชีส่วนตัว โดยเปิดบัญชีธนาคารแยกสำหรับธุรกิจโดยเฉพาะ
  • แยกค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เช่น ค่าจ้างพนักงาน ค่าซื้อวัสดุ ค่าเช่าสำนักงาน
  • เก็บเอกสารสำคัญให้ครบถ้วน: เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี และสัญญาต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการยื่นภาษีและตรวจสอบย้อนหลังได้
  • บันทึกข้อมูลทางการเงินให้ครบถ้วน: ทุกธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เช่น รายได้ ค่าวัสดุ ค่าจ้างแรงงาน และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ควรมีการบันทึกอย่างเป็นระบบ

อ่านเพิ่มเติม: e-Tax Invoice by Email กับ e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร?

2. ประเภทภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ

ธุรกิจตกแต่งภายในมีหลายรูปแบบ ตั้งแต่ธุรกิจขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ ซึ่งการเข้าใจภาษีแต่ละประเภทจะช่วยให้ดำเนินกิจการได้ง่ายยิ่งขึ้น ในเรื่องของการคำนวณและยื่นภาษีอย่างถูกต้อง เพื่อที่จะไม่ต้องจ่ายเบี้ยปรับ เงินเพิ่มภายหลัง:

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT): หากรายได้ของธุรกิจเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จำเป็นต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และเรียกเก็บภาษีจากลูกค้า 7% พร้อมกับออกใบกำกับภาษี รวมถึงนำส่งภาษีให้กับกรมสรรพากรทุกเดือน
  • ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (Withholding Tax): หากจ้างผู้รับเหมาหรือลูกจ้าง หรือจ่ายค่าเช่า ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เช่น 3% จากค่าบริการ หรือ 5% จากค่าเช่า ตามกรณี และนำส่งกรมสรรพากร
  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล: หากจดทะเบียนเป็นบริษัท ต้องยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล อัตราภาษีอยู่ที่ 15-20% ตามระดับรายได้
  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: หากดำเนินธุรกิจในนามบุคคลธรรมดา ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามอัตราก้าวหน้า หรือ progressive tax rates

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา / Progressive Tax Rates

รายได้ต่อปี (บาท) อัตราภาษี (%)
0 – 150,000 ยกเว้น
150,001 – 300,000 5%
300,001 – 500,000 10%
500,001 – 750,000 15%
750,001 – 1,000,000 20%
1,000,001 – 2,000,000 25%
2,000,001 – 5,000,000 30%
มากกว่า 5,000,000 35%

3. การคำนวณภาษีจากรายได้และค่าใช้จ่าย

การคำนวณภาษีควรนำรายได้มาหักลบกับค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เช่น

  • ค่าซื้อวัสดุและอุปกรณ์ เช่น ไม้ ปูน ทาสี เฟอร์นิเจอร์
  • ค่าจ้างแรงงาน ทั้งพนักงานประจำและผู้รับเหมาชั่วคราว
  • ค่าเช่าสำนักงานหรือโกดัง
  • ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าโฆษณา ค่าขนส่ง

**ค่าใช้จ่ายเหล่านี้สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร**

4. ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี

  • ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากการซื้อวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจ
  • ใช้ค่าลดหย่อนภาษี จากการลงทุนในเครื่องมือ อุปกรณ์ หรือซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการดำเนินธุรกิจ
  • หักค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ เช่น เครื่องมือ เครื่องจักร เฟอร์นิเจอร์ และอุปกรณ์สำนักงาน

อ่านเพิ่มเติม: ภาษีมูลค่าเพิ่มในไทย: สิ่งที่เจ้าของธุรกิจควรรู้

5. ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านบัญชีและภาษี

การทำบัญชีและภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมายอาจเป็นเรื่องซับซ้อน การมีที่ปรึกษาทางบัญชีหรือผู้สอบบัญชีจะช่วยให้ธุรกิจของคุณดำเนินไปได้อย่างราบรื่น ลดความเสี่ยงจากการเสียค่าปรับ และสามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้อย่างเต็มที่

อ่านเพิ่มเติม: ภาษีหัก ณ ที่จ่ายในไทย-สิ่งที่เจ้าของธุรกิจควรรู้

6. การยื่นภาษีให้ตรงเวลา

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ต้องยื่นทุกวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
  • ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ต้องนำส่งภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องยื่นภายในวันที่ 31 มีนาคมของปีถัดไป
  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล (ครึ่งปี) ต้องยื่นภายในวันที่ 31 สิงหาคม และ (สิ้นปี) ภายในวันที่ 30 เมษายนของปีถัดไป

สรุป

การจัดการบัญชีและภาษีในธุรกิจตกแต่งภายในเป็นสิ่งที่เจ้าของธุรกิจทุกคนต้องให้ความสำคัญ การทำบัญชีอย่างมีระเบียบ การเลือกและเข้าใจประเภทภาษีที่เหมาะสม การคำนวณภาษีจากรายได้และค่าใช้จ่าย การใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี  จะช่วยให้ธุรกิจของคุณดำเนินไปได้อย่างถูกต้องและคุ้มค่า หากทำอย่างถูกต้อง ธุรกิจของคุณจะเติบโตอย่างมั่นคงในระยะยาว

หากคุณไม่มั่นใจในการคำนวณภาษีหรือจัดการบัญชีอย่างถูกต้อง

สำนักงานบัญชีกรุงเทพ (2009) ยินดีที่จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกหนึ่ง ให้คุณได้ผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำปรึกษาและดูแลบัญชี-ภาษีของคุณ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการทำผิดกฎหมาย และช่วยให้คุณวางแผนการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากสนใจ ติดต่อเราได้ครับ