ธุรกิจที่ต้องห้ามสำหรับชาวต่างชาติลงทุน หรือ ต้องขอใบอนุญาต

ธุรกิจที่ต้องห้ามสำหรับชาวต่างชาติลงทุน-หรือ-ต้องขอใบอนุญาต

ธุรกิจที่ต้องห้ามสำหรับชาวต่างชาติลงทุน หรือ ต้องขอใบอนุญาต

gap]

Table of Content : สารบัญ

การประกอบธุรกิจของคนต่างชาติ

ปฎิเสธไม่ได้ว่า ประเทศไทยนี้เป็นที่สนใจของชาวต่างชาติ เป็นจำนวนมาก ที่จะมาลงทุนทำธุรกิจ ซึ่งจะมีหลายๆ เรื่องเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น การจัดตั้งบริษัทฯ การประกอบธุรกิจมีอะไรทำได้ ทำไม่ได้ หรือต้องขออนุญาต และจะดำเนินการอย่างไรบ้าง เราจะมาดูรายละเอียดกันค่ะ

อ่านเพิ่มเติม: การกำหนดงานในอาชีพ และวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ

อ่านเพิ่มเติม: Virtual Office ออฟฟิศเสมือน คืออะไร

อ่านเพิ่มเติม: ภาษีหัก ณ ที่จ่ายในไทย-สิ่งที่เจ้าของธุรกิจควรรู้

คนต่างชาติ คือ ใครบ้าง

1. บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย
2. นิติบุคคลซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในไทย
3. นิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในไทยที่มีทุนตั้งแต่กึ่งหนึ่งเป็นของบคคลหรือนิติบุคคลตามข้อ 1 หรือ 2
4. นิติบุคคลที่จดทะเบียนในไทยที่มีทุนตั้งแต่กึ่งหนึ่งเป็นของบุคคลหรือนิติบุคคลในข้อ 1, 2 หรือ 3

และตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว  ห้ามคนต่างด้าวประกอบธุรกิจบางประเภท บางประเภทต้องขออนุญาตก่อน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 บัญชี ดังนี้

1. บัญชีหนึ่ง   เป็นธุรกิจที่ห้ามมิให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจด้วยเหตุผลพิเศษ มีดังนี้

  • กิจการหนังสือพิมพ์   สถานีวิทยุกระจายเสียง หรือสถานีวิทยุโทรทัศน์
  • การทำนา ทำไร่ ทำสวน
  • การเลี้ยงสัตว์
  • ป่าไม้  การแปรรูปไม้จากป่าธรรมชาติ
  • ประมงเฉพาะการจับสัตว์น้ำในน่านน้ำไทยและในเขตเศรษฐกิจ จำเพาะของประเทศไทย
  • การสกัดสมุนไพรไทย
  • การค้าและการขายทอดตลาดโบราณวัตถุของไทยหรือที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของประเทศ
  • การทำหรือหล่อพระพุทธรูปและการทำบาตร
  • การค้าที่ดิน

2.  บัญชีสอง ธุรกิจที่เกี่ยวกับความปลอดภัยหรือความมั่นคงของประเทศหรือมีผลกระทบต่อศิลปะวัฒนธรรมจารีตประเพณีหัตถกรรมพื้นบ้านหรือทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมคน ต่างด้าวจะประกอบธุรกิจได้เมื่อได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีโดยการอนุมัติของคณะรัฐมนตรี

หมวด 1. เกี่ยวกับความปลอดภัยหรือความมั่นคงของประเทศ หรือมีผลกระทบต่อศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี หัตถกรรมพื้นบ้าน  หรือทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งคนต่างด้าวจะประกอบธุรกิจได้เมื่อได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี โดยการอนุมัติของคณะรัฐมนตรี ได้แก่

1.1 การผลิต จำหน่าย และซ่อมบำรุง

(ก) อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน ดินปืน วัตถุระเบิด
(ข) ส่วนประกอบของอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน และวัตถุระเบิด
(ค) อาวุธยุทโธปกรณ์ เรือ อากาศยาน หรือยานพาหนะทางการทหาร
(ง) อุปกรณ์หรือส่วนประกอบของอุปกรณ์สงครามทุกประเภท

1.2 การขนส่งทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศในประเทศ รวมถึงกิจการการบิน ในประเทศ

หมวด 2.  ธุรกิจที่มีผลกระทบต่อศิลปะวัฒนธรรม จารีตประเพณี และหัตถกรรมพื้นบ้าน

1. การค้าของเก่า หรือศิลปวัตถุ ซึ่งเป็นงานศิลปกรรม หัตถกรรมของไทย
2. การผลิตเครื่องไม้แกะสลัก
3. การเลี้ยงไหม การผลิตเส้นไหมไทย การทอผ้าไหมไทย หรือการพิมพ์ลวดลาย ผ้าไหมไทย
4. การผลิตเครื่องดนตรีไทย
5. การผลิตเครื่องทอง เครื่องเงิน เครื่องถม เครื่องทองลงหิน หรือเครื่องเขิน
6. การผลิตถ้วยชามหรือเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นศิลปวัฒนธรรมไทย

หมวด 3 ธุรกิจที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม

1. การผลิตน้ำตาลจากอ้อย
2. การทำนาเกลือ รวมทั้งการทำเกลือสินเธาว์
3. การทำเกลือหิน
4. การทำเหมือง รวมทั้งการระเบิดหรือย่อยหิน
5. การแปรรูปไม้เพื่อทำเครื่องเรือนและเครื่องใช้สอย

3. บัญชีสาม เป็นธุรกิจที่คนไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะแข่งขันในการประกอบกิจการกับคนต่างด้าว คนต่างด้าวจะประกอบธุรกิจได้เมื่อได้รับอนุญาตจากอธิบดีโดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ได้แก่

1. การสีข้าว และการผลิตแป้งจากข้าวและพืชไร่
2. การทำการประมง เฉพาะการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
3. การทำป่าไม้จากป่าปลูก
4. การผลิตไม้อัด แผ่นไม้วีเนียร์ ชิปบอร์ด หรือฮาร์ดบอร์ด
5. การผลิตปูนขาว
6. การทำกิจการบริการทางบัญชี
7. การทำกิจการบริการทางกฎหมาย
8. การทำกิจการบริการทางสถาปัตยกรรม
9. การทำกิจการบริการทางวิศวกรรม
10. การก่อสร้าง ยกเว้น
(ก) การก่อสร้างสิ่งซึ่งเป็นการให้บริการพื้นฐานแก่ประชาชนด้านการ สาธารณูปโภคหรือการคมนาคมที่ต้องใช้เครื่องมือ เครื่องจักร
เทคโนโลยี หรือความชำนาญในการก่อสร้างเป็นพิเศษ โดยมีทุนขั้นต่ำของคนต่างด้าวตั้งแต่ห้าร้อยล้านบาทขึ้นไป
(ข) การก่อสร้างประเภทอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
11. การทำกิจการนายหน้าหรือตัวแทน ยกเว้น
(ก) การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์หรือการบริการที่เกี่ยวกับการซื้อขายล่วงหน้าซึ่งสินค้าเกษตร
หรือตราสารทางการเงินหรือ หลักทรัพย์
(ข) การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขายหรือจัดหาสินค้าหรือบริการที่จำเป็นต่อการผลิตหรือการให้บริการของ
วิสาหกิจในเครือเดียวกัน
(ค) การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขาย จัดซื้อหรือจัดจำหน่ายหรือจัดหา ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
เพื่อการจำหน่ายซึ่งสินค้าที่ผลิต ในประเทศหรือนำเข้ามาจากต่างประเทศอันมีลักษณะเป็นการประกอบธุรกิจ
ระหว่างประเทศ โดยมีทุนขั้นต่ำของคนต่างด้าวตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป
(ง) การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนประเภทอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
12. การขายทอดตลาด ยกเว้น
(ก) การขายทอดตลาดที่มีลักษณะเป็นการประมูลซื้อขายระหว่างประเทศที่มิใช่การประมูลซื้อขายของเก่า วัตถุโบราณ
หรือศิลปวัตถุซึ่งเป็นงาน ศิลปกรรม หัตถกรรม หรือโบราณวัตถุของไทย หรือที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของประเทศ
(ข) การขายทอดตลาดประเภทอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
13. การค้าภายในเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือผลิตผลทางการเกษตรพื้นเมืองที่ยังไม่มีกฎหมายห้ามไว้
14. การค้าปลีกสินค้าทุกประเภทที่มีทุนขั้นต่ำรวมทั้งสิ้นน้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท หรือที่มีทุนขั้นต่ำของแต่ละร้านค้าน้อยกว่ายี่สิบล้านบาท
15. การค้าส่งสินค้าทุกประเภทที่มีทุนขั้นต่ำของแต่ละร้านค้าน้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท
16. การทำกิจการโฆษณา
17. การทำกิจการโรงแรม เว้นแต่บริการจัดการโรงแรม
18. การนำเที่ยว
19. การขายอาหารหรือเครื่องดื่ม
20. การทำกิจการเพาะขยายหรือปรับปรุงพันธุ์พืช
21. การทำธุรกิจบริการอื่น ยกเว้นธุรกิจบริการที่กำหนดในกฎกระทรวง

การยื่นขออนุญาตประกอบธุรกิจตามบัญชี 2 และบัญชี 3

(1) แบบฟอร์มที่ใช้คือแบบ ต.2 พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคำขอ
(2) ค่าธรรมเนียมคําขอ 2,000 บาท

อัตราค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาต

(1) บัญชีสอง : พันละสิบบาทของเงินทนจดทะเบียน ทั้งนี้ไม่ต่ำกว่า 40,000 และไม่เกิน 500,000 บาท
(2) บัญชีสาม : พันละห้าบาทของเงินทนจดทะเบียน ทั้งนี้ไม่ต่ำกว่า 20,000 และไม่เกิน 250,000 บาท

คนต่างด้าวบางประเภทมีสิทธิขอหนังสือรับรองเพื่อประกอบธุรกิจได้โดยไม่ต้องขอใบอนุญาต คือ

(1) คนต่างด้าวที่ประกอบธุรกิจโดยสนธิสัญญาหรือความตกลงการค้าระหว่างประเทศไทยกับคู่ภาคี (มาตรา 11) สามารถขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจบัญชีหนึ่งบัญชีสองและบัญชีสาม
ได้ตามเงื่อนไขที่กําหนดในสนธิสัญญาหรือความตกลงการค้าระหว่างประเทศไทยกับคู่ภาคี
(2) คนต่างด้าวที่ประกอบธุรกิจโดยได้รับบัตรส่งเสริมการลงทนสามารถขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจบัญชีสองและบัญชีสาม ได้ตามที่ระบุในบัตรส่งเสริมการลงทุน

การยื่นขอหนังสือรับรอง

(1) กรณียื่นขอตามมาตรา 11 ให้ใช้แบบฟอร์มที่ใช้คือแบบ ต.6 พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขอ
(2) กรณียื่นขอตามมาตรา 12 ให้ใช้หนังสือชี้แจงพร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคำขอ
(3) ให้ยื่นขอหนังสือรับรองได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าและอธิบดีจะออกหนังสือรับรองให้ภายใน 30 วันนับแต่วันแจ้ง
(4) ค่าธรรมเนียมคําขอ 2,000 บาท ค่าธรรมเนียมหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว 20,000 บาท

ทุนขั้นต่ำที่ต้องมีสำหรับผู้ที่ได้รับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองและเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติ

(1) ผู้ได้รับใบอนญาตหรือหนังสือรับรองตามสนธิสญญาต้องมีทุนขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 25% ของค่าเฉลี่ยต่อปีของประมาณการรายจ่ายสามปี
ตัวอย่างเช่น ประมาณการรายจ่ายโดยเฉลี่ยต่อปีของประมาณการรายจ่าย 3 ปีเท่ากับ 100 ล้านบาท ทุนขั้นต่ำจะเท่ากับ 25 ล้านบาท ดังนั้นถ้าเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศไทยที่ทุนจดทะเบียนไม่ ถึง 25 ล้านบาท ต้องเพิ่มทุน ถ้าไม่ได้ จดทะเบียนในประเทศไทยต้องนําเงินเข้ามา 25 ล้านบาท
(2) ผู้ได้รับหนังสือรับรองตามบัตรส่งเสริมไม่ต้องมีทุนขั้นต่ำ
(3) ผู้ได้รับใบอนุญาต มีเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติ
3.1) จะกู้เงินเพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจได้ไม่เกินอัตราส่วนของทุนหนึ่งส่วนต่อเงินกู้เจ็ดส่วน
3.2) กรรมการผ้รูับผิดชอบต้องมีภูมิลําเนาในประเทศไทยอย่างน้อยหนึ่งคน
3.3) ทุนที่นําเข้ามาจะต้องดํารงไว้ตลอดระยะเวลาที่ประกอบธุรกิจ
(4) ผู้ได้รับหนังสือรับรองตามสนธิสญญาหรือความตกลงการค้าระหว่างประเทศไทยกับคู่ภาคีต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขตามที่กําหนดในสนธิสัญญาหรือความตกลงการค้าระหวางประเทศไทยกับคู่ภาคี
(5) ผู้ได้รับหนังสือรับรองตามบัตรส่งเสริมต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดในบัตรส่งเสริมการลงทุน

อยากจัดตั้งบริษัทฯ แต่มีความกังวลเรื่องเงินทุน หรือสถานที่จัดตั้งบริษัท ไม่ทราบว่ารายระเอียดเป็นอย่างไรทักมาคุยกันกับเราได้

เนื่องจากเรื่องนี้ในการปฏิบัติงานจริง จะมีรายละเอียดมากมายและซับซ้อน ทั้งในเรื่องของการสื่อสาร การใช้ภาษา การเจรจาสื่อสารที่ทำให้เข้าใจและถูกต้องตรงกัน ทางเรายินดีให้บริการและมีความพร้อมในด้านนี้ ไม่ว่าคุณลูกค้าหรือเพื่อนชาวต่างชาติต้องการจัดตั้งบริษัท ในกรุงเทพมหานคร/หัวหิน/ประจวบคีรีขันธ์/ภูเก็ต/พัทยา/บางแสน หรือที่ใดๆในประเทศไทย เราพร้อมให้บริการค่ะ ติดต่อเราได้ค่ะ

หากคุณไม่มั่นใจในการคำนวณภาษีหรือจัดการบัญชีอย่างถูกต้อง

สำนักงานบัญชีกรุงเทพ (2009) ยินดีที่จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกหนึ่ง ให้คุณได้ผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำปรึกษาและดูแลบัญชี-ภาษีของคุณ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการทำผิดกฎหมาย และช่วยให้คุณวางแผนการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากสนใจ ติดต่อเราได้ครับ